
อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก หรือผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารทั่วไปมักเป็นแค่ อาหารพลังงานต่ำ LCD (Low Calorie Diet) ซึ่งต่างจากอาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนักที่เป็นอาหารพลังงานต่ำมาก VLCD (Very Low-Calorie Diet) แล้ว
อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนักที่จัดเป็นอาหารพลังงานต่ำมาก [8] หรือ VLCD (Very Low-Calorie Diet) คืออาหารที่ให้พลังงาน 800 กิโลแคลอรีหรือน้อยกว่าต่อวัน โดยทั่วไปจะใช้อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนักทดแทนมื้ออาหารปกติ
เผยข้อดี! ของอาหารพลังงานต่ำมาก หรือ VLCD กับการลดน้ำหนัก ลดความอ้วน
อาหารพลังงานต่ำ (VLCD หรือ Very Low-Calorie Diet) ช่วยให้
- ลดน้ำหนักได้เร็วกว่าในระยะสั้น (3-6 เดือน)
- ช่วยทำให้น้ำหนักลดลงโดยเฉลี่ย 1.5-2.5 กก./สัปดาห์ ซึ่งทำให้น้ำหนักลดลงได้มากกว่าเมื่อเทียบกับการใช้วิธีลดน้ำหนัก หรือลดความอ้วนโดยการจำกัดแคลอรีจากอาหาร จะทำให้น้ำหนักลดลง 0.4-0.8 กก./สัปดาห์
เมื่อลดความอ้วน หรือน้ำหนักลดลง ส่งผลให้สุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และไขมันในเลือด

Mustajoki, P. Very low energy diets in the treatment of obesity. Obesity Reviews, 2001. 2(1): p. 61-72.
6 ข้อดีของอาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนัก ที่ถูกออกแบบมาให้เป็นอาหารพลังงานต่ำมาก (VLCD หรือ Very Low-Calorie Diet)
- มีสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ แต่มีพลังงานต่ำ
- มีปริมาณโปรตีนสูงเพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อ ที่จำเป็นต่อระบบการเผาผลาญของร่างกายไว้
- มีปริมาณคาร์์โบไฮเดรตและไขมันต่ำ
- มีใยอาหารและวิตามิน แร่ธาตุุปริมาณสููง เพื่อป้องกันการขาดวิตามินและแร่ธาตุ
- ในช่วงที่จำกัดพลังงาน ช่วยควบคุมปริมาณแคลอรีที่ได้รับอย่างแม่นยำ สะดวกในการใช้
- ช่วยลดภาระในการเตรียมอาหารหรือเลือกอาหารเอง
ประเด็นที่สำคัญคือ อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนักที่เป็นสูตรอาหารพลังงานต่ำมาก (VLCD) มีการศึกษาวิจัยรองรับประสิทธิภาพและความปลอดภัย เช่น การศึกษา OPTIWIN study ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าสามารถทำให้ผู้ป่วยโรคอ้วน (BMI>30 kg/m2) ลดน้ำหนักลงได้เฉลี่ย 10.5% ที่ 12 เดือนหลังการรักษา และมีการศึกษาที่ชื่อว่า DiRECT-AUS ในประเทศออสเตรเลียพบว่าการใช้อาหารทางการแพทย์ที่เป็นสูตร VLCD สามารถทำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่่ได้รับการวินิจฉัย เป็นเบาหวานไม่เกิน 6 ปี มีดัชนีมวลกาย >27.0 kg/m2 เข้าสู่ภาวะโรคสงบได้ถึง 56% ของผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้าโครงการ

1. Ard, J.D., et al., Effectiveness of a Total Meal Replacement Program (OPTIFAST Program) on Weight Loss: Results from the OPTIWIN Study. Obesity, 2019. 27(1): p. 22-29. 2.Hocking, S.L., et al., Intensive Lifestyle Intervention for Remission of Early Type 2 Diabetes in Primary Care in Australia: DiRECT-Aus. Diabetes Care, 2024. 47(1): p. 66-70.
หากต้องการลดความอ้วน หรือลดน้ำหนัก ควรศึกษาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนัก ที่เป็นสูตรอาหารพลังงานต่ำมาก (VLCD หรือ Very Low-Calorie Diet) ที่มีผลงานวิจัยรองรับว่าสามารถช่วยให้ลดน้ำหนักได้จริง มีความปลอดภัยในการใช้เพื่อลดน้ำหนัก และสามารถรับประทานเพื่อทดแทนมื้ออาหารตามคำแนะนำของแพทย์ร่วมกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle Modification) เช่นการปรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว