
ปัจจุบัน มีทางเลือกของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก หรือลดความอ้วนอยู่หลากหลายวิธี ซึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในปัจจุบันมี 3 แบบหลักๆ คือ
- การอดอาหารเป็นช่วง (Intermittent Fasting: IF) ช่วยควบคุมแคลอรี่ได้ง่ายขึ้น และได้รับสารอาหารครบถ้วนในระหว่างลดน้ำหนัก
- ทานอาหารคีโตเจนิค (Ketogenic Diet) อาหารที่มีไขมันสูง คาร์โบไฮเดรตต่ำมาก เป็นวิธีลดน้ำหนักที่สะดวก ควบคุมสัดส่วนสารอาหารได้ง่าย
- ทานอาหารคลีน (Clean Eating) เน้นธัญพืช ไขมันต่ำ การลดน้ำหนักวิธีนี้ ร่างกายจะยังคงได้รับสารอาหารครบถ้วน แต่พลังงานจากอาหารลดลง
แต่ไม่ว่าจะเลือกการลดน้ำหนัก หรือลดความอ้วนด้วยรูปแบบใด มักพบว่าในบางมื้อก็ไม่ได้มีเวลาหรือไม่ได้สะดวกที่จะเตรียมอาหารที่คิดว่าจะช่วยลดน้ำหนักได้ ทำให้การลดน้ำหนักวิธีนั้นไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การลดความอ้วนไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
อาจจะพิจารณาเลือกรับประทานอาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนัก ที่มีการคำนวนค่าพลังงานต่อการทานแล้ว ซึ่งอาจจะมีหลายรูปแบบ รวมถึงรูปแบบผงร่วมกับวิธีคุมอาหาร ลดน้ำหนัก ที่เลือกใช้อยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็น IF, คีโต หรือกินคลีน

4 ข้อดีของการใช้อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนักร่วมกับวิธีลดน้ำหนักอื่นๆ
- ช่วยควบคุมปริมาณแคลอรีและสารอาหารได้แม่นยำ เพราะระบุปริมาณแคลอรีและสารอาหารไว้อย่างชัดเจนบนซอง หรือบนบรรจุภัณฑ์
- สะดวก ประหยัดเวลาในการเตรียมอาหาร
- ลดความเสี่ยงจากการขาดสารอาหาร เพราะมีสารอาหารหลากหลาย
- เพิ่มความยืดหยุ่นในการวางแผนมื้ออาหาร โดยสามารถทานทดแทนมื้ออาหารได้

3 สิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อใช้อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนัก
- ควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการก่อนเริ่มโปรแกรม
- เลือกอาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนักที่เหมาะสมกับวิธีการลดน้ำหนักที่เลือก
- ติดตามผลการลดน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอและปรับแผนตามความเหมาะสม
อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนักเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักแต่มีความกังวล โดยช่วยตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของการได้รับสารอาหารครบถ้วน ความปลอดภัย และการป้องกันการโยโย่ อย่างไรก็ตาม การใช้อาหารทางการแพทย์ควรเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในระยะยาว และควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด